ประเด็นท้าทาย
การใช้สารเสพติดในกลุ่มวัยรุ่น ยังเป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทย เป็นปัญหาที่สร้างความกังวลให้กับทุกคน เพราะไม่เพียงแต่ประเทศจะต้องสูญเสียทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งเป็นทรัพยากรอันมีค่าที่สุดของประเทศไปแล้ว ปัญหายาเสพติดยังนำมาซึ่งปัญหาอื่นอีกมากมาย ทั้งในแง่สังคมอย่างเช่นการก่ออาชญากรรม ปล้น จี้ ฯลฯ เกิดปัญหาส่วนบุคคลในด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิต เช่น ปัญหาทางจิต ปัญหาด้านสุขภาพ ปัญหาด้านเศรษฐกิจ ซึ่งรัฐบาลต้องสูญเสียเงินในการบำบัดอาการติดยา รักษาอาการติดยา ทั้งการเลิกยาไอซ์ เลิกยาบ้า เลิกกัญชา ฯลฯ สิ่งที่น่าวิตกกังวลคือวัยรุ่นที่ใช้สารเสพติดนั้นมีแนวโน้มที่จะอายุน้อยลงเรื่อยๆ มีการใช้สารเสพติดเพิ่มขึ้นในกลุ่มอายุ 12 – 19 ปี และในปี 2562 มีการสำรวจพบว่าเด็กและเยาวชนหรือวัยรุ่นใช้สารเสพติดเป็นจำนวนร้อยละ 3.72 (Phufa resthome,2563) กระทรวงศึกษาธิการได้ตระหนักถึงปัญหานี้ จึงได้บรรจุเนื้อหาสาระความรู้เกี่ยวกับยาเสพติดไว้ในกลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษา สาระการเรียนรู้ที่ 4 การสร้างเสริมสุขภาพ สมรรถภาพ และการป้องกันโรค มาตรฐาน พ.4.1 เห็นคุณค่าและมีทักษะในการสร้างเสริมสุขภาพ การดำรงสุขภาพ การป้องกันโรค และการสร้างเสริมสมรรถภาพเพื่อสุขภาพ ในการจัดการเรียนการสอนวิชาสุขศึกษา สิ่งที่จะใช้ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ผู้สอนจะต้องใช้เทคนิควิธีการต่างๆที่หลากหลายและเหมาะสมกับบริบทของผู้เรียนและสถานการณ์ปัจจุบัน
วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล
2.1 ดําเนินการศึกษาและวางแผนการการพัฒนากระบวนการคิดโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้(5Es) วิชาสุขศึกษา เรื่อง มหันตภัยสารเสพติดนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
2.2 ดําเนินการวัดการพัฒนากระบวนการคิดโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้(5Es) วิชาสุขศึกษา เรื่อง มหันตภัยสารเสพติดนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2ก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
2.3 ดําเนินการจัดการเรียนรู้รูปแบบ แบบสืบเสาะหาความรู้(5Es)
2.4 ดําเนินการวัดการพัฒนากระบวนการคิดโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้(5E) วิชาสุขศึกษา เรื่อง มหันตภัยสารเสพติดนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
2.5 วิเคราะห์ และเปรียบเทียบผล ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
2.6 สรุปผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้